ทฤษฎีพัฒนาการของเบนดูรา


ประวัติของศาสตราจารย์บันดูรา
อัลเบิร์ต แบนดูราเกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจากการศึกษากับเคนเนธ สเปนซี (Kenneth Spence) และรอเบิร์ต เซียร์ส (Robert Sears) หลังจากจบการศึกษาในปี 1952 แบนดูราเข้าฝึกงานที่ศูนย์แนะแนววิชิตา (Wichita Guidance Center) เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และทำงานที่นี่มาโดยตลอด แบนดูนาแตกต่างจากนักพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (radical behaviorist) จำนวนมาก เขามองว่าปัจจัยทางด้านการรู้คิด (cognitive factor) เป็นสาเหตุของพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยของเขาด้านทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจปฏิกิริยาระหว่างการรู้คิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม
งานของแบนดูราส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งความรู้ (acquisition) และการปรับเปลี่ยนลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือการดูตัวแบบ(modeling) ซึ่งเขาชื่อว่าการเรียนรู้รูปแบบนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา ความรู้ที่ว่าเด็กเรียนรู้โดยการเลียนแบบผู้อื่นเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว แต่มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ ก่อนที่นีล มิลเลอร์ (Neal Miller) และจอห์น ดอลลาร์ด (John Dollard) จะตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Social Learning and Imitation ออกมาในปี 1941
แบนดูราได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สร้างพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มั่นคงในมโนทัศน์เรื่องการเรียนรู้โดยการดูตัวแบบ หรือการเลียนแบบ งานของเขา ซึ่งมุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องธรรมชาติของความก้าวร้าว เสนอว่าการดูตัวแบบแสดงบทบาทสำคัญในการกำหนดความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม แบนดูราบอกว่าในทางปฏิบัติแล้ว อะไรก็ตามที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ก็สามารถเรียนรู้ได้จากการดูตัวแบบเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบจะเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้สังเกตหรือตัวแบบจะได้รับรางวัลจากการกระทำนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่งต่างจากรูปแบบการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม เช่น อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) หรือบี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขและการเสริมแรงอย่างไรก็ตาม การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบก็แสดงให้เห็นว่า การลงโทษหรือการเสริมแรงสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ของการเลียนแบบ เด็กจะพร้อมเลียนแบบผู้ที่ได้รับรางวัลมากกว่าผู้ที่ถูกลงโทษ ดังนั้น เด็กเรียนรู้ได้โดยที่ตนเองไม่ต้องได้รับรางวัลหรือการลงโทษ แนวคิดนี้มีชื่อว่า การเรียนรู้จากผู้อื่น (vicarious learning) เช่นเดียวกัน แบนดูราแสดงให้เห็นว่า เมื่อตัวแบบถูกเสนอด้วยสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ผู้ที่สังเกตเหตุการณ์นี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมโดยตรง จะมีแนวโน้มที่จะถูกวางเงื่อนไขไปด้วย
แบนดูราพัฒนาการดูตัวแบบขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบำบัด ซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนงานวิจัยของเขา ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยการพิจารณาและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้บำบัด แม้ว่าตอนแรกการดูตัวแบบจะทำการศึกษาในกลุ่มเด็ก แต่พบว่าวิธีการนี้ก็ได้ผลในการรักษาโรคกลัวในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ตอนแรกผู้ป่วยจะดูตัวแบบสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัว ภายใต้สภาวะที่ไม่มีการคุกคาม จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนให้กระทำตามตัวแบบ และสถานการณ์จะเริ่มคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งของหรือประสบการณ์ที่พวกเขากลัวได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ แบนดูรายังให้ความสำคัญกับความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสัญลักษณ์ (symbolization) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูตัวแบบแบบผกผัน (inverse modeling) ในการใช้ความสามารถในเชิงสัญลักษณ์ คนเราจะสร้างตัวแบบภายใน (internal modeling) ขึ้นมา เพื่อเป็นสนามจำลองของการวางแผน การแก้ปัญหา และการใคร่ครวญ และแม้กระทั่งเอื้ออำนวยการสื่อสารกับผู้อื่น อีกแง่มุมหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่แบนดูราทำการสำรวจก็คือ self-regulatory activity หรือการที่มาตรฐานภายในส่งผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม เขาศึกษาผลของความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับตนเอง ต่อความคิด การเลือก ระดับแรงจูงใจ ความพากเพียร และความอ่อนไหวต่อความเครียดและความซึมเศร้า
แนวคิดและทฤษฎี
บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ
ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า           >                  บุคคล    
                                 (Input)                                          (Person)                         
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance) ซึ่งอาจจะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้
สิ่งเร้าหรือการรับเข้า            >                 บุคคล              
                                 (Input)                                          (Person)                        
               ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะใม่เกิดขึ้น
                2. กระบวนการจดจำ (Retention)  ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
 3. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
4. กระบวนการการจูงใจ (Motivation) แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้
บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มหนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
                เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ผลการทดลองพบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว จะแสดงพฤติกรรมเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบการทดลอง
คุณสมบัติของผู้เรียน
-ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า
-สามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว
-สามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
การนำทฤษฎีมาประยุกต์ในการเรียนการสอน
1 บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2 แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆอย่าง
3 ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
4 ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน
5 จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
6 ให้เสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง
สรุป

เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์