ทฤษฎีพัฒนาการ

ที่
นักทฤษฎี
แนวคิด
ลำดับขั้น
กุญแจสำคัญ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ซิกมันด์ ฟรอยด์
พัฒนาการตามวัย
แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)อายุ 0-8 เดือน
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)อายุ 18 เดือน – 3 ปี
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)อายุ 3-5 ปี
4. ขั้นแฝง (Latence Stage) อายุ 6-12 ปี
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) อายุ 12 ปีขึ้นไป

ประสบการณ์ตั้งแต่เยาว์วัยจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลในระยะต่อมา เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการการในช่วงอายุ 0-6 ปี
ในการจัดการเรียนการสอนนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ วัยเด็กจะเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอยู่ตอลดเวลาผู้สอนควรสอนให้เด็กอย่างละเอียดและควรชี้แนวทางการอบรมสั่งสอนสิ่งที่ถูกต้อง
2
อิริคสัน
พัฒนาการเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
มี8 ขั้น
ขั้นที่1 อายุ 0-6 ปีความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่ 2 อายุ 2-3 ปีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
ขั้นที่ 3 อายุ 3-5 ปี การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด
ขั้นที่ 4 อายุ 6-12 ปีความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อายุ 12-18 ปี
 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ การไม่รู้จักตนเองหรือ
วัยแรกของชีวิตนั้นจะเป็นรากฐานที่สำคัญและวัยต่อๆมานั้นก็จะมาจากรากฐานจากวัยนี้ นอกจากนี้ อิริคสันยังเน้นความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้




สับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง


3
โรเบิรต์ เจ ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีเกี่ยวกับงานพัฒนาการ
มี 6 ขั้น
1.       วัยเด็กเล็กหรือวัยเด็กตอนต้น อายุ 6-8 ปี
2.       วัยเด็กตอนกลาง อายุ 6-12 ปี
3.       วัยรุ่น อายุ 12-18 ปี
4.       วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-35 ปี
5.       วัยกลางคน อายุ 35-60 ปี
6.       วัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป
งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
โดยการสร้างสถานการณ์หรือเหตุการณ์เพื่อสร้างความตั้งใจแก่ผู้เรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนแล้ว   ผู้สอนก็แจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนให้แก่ผู้เรียน   โดยพยายามเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้เรียนมาก่อนหน้ากับความรู้ใหม่ให้เข้ากันได้   จากนั้นก็เสนอบทเรียนใหม่   มีการแนะนำชี้แนวทางในการเรียนเพื่อจะให้เกิดการเรียนรู้  สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงและแจ้งผลการปฏิบัติงานให้นักเรียนทราบเป็นระยะเพื่อเป็นการประเมิน 
4
โคเบิร์ก
ทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม
ออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level อายุ 2-10 ปี
ขั้นที่ ๑ การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
ขั้นที่ ๒ กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม  ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี
ขั้นที่ ๓ ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ เด็กดี
ขั้นที่ ๔   กฎและระเบียบ
ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม
ขั้นที่สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่น ขั้นที่ หลักการคุณธรรมสากล



โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม นอกจากนั้น โคลเบิร์ก ยังพบว่า ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ 10 ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ 11-25 ปี การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา
ทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม
5
เพียเจต์
ทฤษฎีทางสติปัญญา
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
-1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้
3 ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
4 ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับไห้อยู่ในภาวะสมดุลดัวยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับไห้เหมาะสมจนทำไห้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัสต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อยๆจนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้น

นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกันจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็กๆ ควรไห้เด็กมีอีสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเด็กไปตามลำดับพัฒนาการของเด็ก
6
เจ โรม บรูเนอร์
พัฒนาการทางด้านความคิด
แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
กระบวนการเรียนรู้แบบ Discovery Learning Process เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นไห็ครูมีบทบาทเป็นกองนุนไห้ผู้เรียน เป็นผู้ช่วยส่งเสริมให้โอกาศผู้เรียนแต่ละคนได้ฝึกฝนทักษะที่มีอยู่ในตนเองในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆอย่างสม่ำเสมอเพื่อไห้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ตามแบบของตนเองประกอบไปด้วย 7
สงสัย  สังเกต  สัมผัส สำรวจ  สืบค้น  สั่งสม สรุปผล

-กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
-การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน